วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศิลป วัฒนธรร ประเพณี ที่สำคัญ ของจังหวัดสุราษฏธานี


ประเพณีและวัฒนธรรม
        ประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่นี่มีอีกชื่อหนึ่งก็คืองานเดือนสิบเอ็ด ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา กิจกรรมที่สำคัญได้แก่การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งเรือพระ (บก) และเรือพระ (น้ำ) ซึ่งเรือพระก็จะเปนหารตกแต่งให้สวยงามโดยการแกะสลักไม้ ตกแต่งจำลอง เสมือนฉากที่พระพุทธเจ้ากลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง ซึ่งผู้ที่ได้ลากเรือพระจะได้บุญมาก การประกวดพุ่มผ้าป่าจะเปนการจำลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นฉาๆ ซึ่งทางส่วนราชการ และเอกชนจะมีการประกวดกัน นอกจากนี้ ยังมีการติดพุ่มผ้าป่าโดยเปนการติดของใช้สำหรับพระภิกษุสงค์และจัดเงินและ ของมาทำบุญกัน ทั่วทั้งเมืองในรุ่งเช้าวันชักพระ จัดขึ้นบริเวณเขื่อนลำนำตาปีไล่ไปตั้งแต่บริเวณศาลหลักเมืองจนกระทั่งถึง โรงแรมวังใต้ ขึ้นอยู่กับจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่าในแต่ละปีจะเลือกเอาบริเวณใด ซึ่งประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาวทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะจัดเปนงานใหญ่ที่สุดในภาคใต้
งานวันเงาะโรงเรียน
        หากจะกล่าวถึงผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้วเชื่อเลยว่าทุกคนย่อมนึกถึง เงาะ ขึ้นเป็นลำดับแรก และเป็นความภูมิใจของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเสียด้วย เพราะเงาะที่นี่จะไม่เหมือนเงาะที่อื่น หวาน ร่อน กรอบ เป็นที่ประทับใจไปทั่ว ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงจัด ให้มีการนำผลผลิตดังกล่าวและผลผลิตอื่น ๆ มาจำหน่ายและตั้งชื่อว่า งานวันเงาะโรงเรียน จัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี
การละเล่นพื้นบ้าน
        * การละเล่นเด็ก ได้แก่ จุ้มจี้ จี้จิบ ลูกหวือ ชักลูกยาง ทองสูง กบกับ หมากโตน บอกโผละ ลูกฉุด ทอยหลุม เหยก เตย และหมากขุม
        * การละเล่นผู้ใหญ่ ได้แก่ เพลงชักพระอำเภอเกาะพะงัน เพลงบอก เพลงนา คำตัด ลิเกป่า มโนห์รา และหนังตะลุง
อาหารพื้นบ้าน        * ได้แก่ ผัดไทยไชยาและผัดไทยท่าฉาง(จะต่างกับผัดไทยภาคกลาง ที่ใส่น้ำกระทิ มีรสเผ็ดเล็กน้อย อาจจะใส่ เต้าหู้ หรือกุ้งเปนเครื่องเคียงด้วยก็ได้)ทานพร้อมผัก ประเภทแกง แกงเหลือง แกงส้มอ้อดิบ ผัดสะตอใส่กะปิ แกงหมูกับลูกเหรียงเห็ดแครงปิ้งสาหร่ายข้อ แกงป่า ยำปลาเม็ง(เฉพาะที่่่อำเภอบ้านนาเดิมและอำเภอบ้านนาสาร)โล้งโต้ง(เฉพาะที่ สุราษฎร์ธานี)ประเภทน้ำพริก น้ำพริกกะปิ น้ำพริงมุงมัง(น้ำพริกตะลิงปิง)น้ำพริกปลาทู ประเภทอาหารทะเล เนื่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นชื่อเรื่องหอยนางรมที่มีขนาดใหญ่และสดแล้ว ยังมีหอยหวาน ที่มีรสชาติดีเช่นกัน แล้วยังมีกุ้งแม่น้ำตาปี ที่ตัวใหญ่ สด อร่อยอีกด้วย
กีฬาชนควาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กีฬาชนควาย ที่เกาะสมุยมีลักษณะคล้ายกับกีฬาชนวัวของจังหวัดสงขลา จะจัดขึ้นในโอกาสที่มีงานมงคล หรือเทศกาลต่างๆ เช่นตรุษสงกรานต์ และวันขึ้นปีใหม่
การชนควาย
ชนควายเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในท้องที่อำเภอเกาะสมุยเป็นที่นิยมกันมาก การชนควายเริ่มมีขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่ว่าสมัยที่เกาะสมุยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ที่เกาะนี้มีควายมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การที่ราษฎรเห็นควายเพริดเที่ยวชนกัน ขวิดกัน จึงน่าจะเป็นต้นเค้าของการนำควายมาชนกันเกิดเป็นกีฬาชนควายอย่างเช่นปัจจุบัน
การเลี้ยงควายชน ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักลักษณะของควาย เช่น ลักษณะของควายชนโดยทั่วไป ถ้าเป็นควายดำจะต้องมีหางพวง มีขวัญเป็นเอก เท้าหน้า เท้าหลัง แข็งแรง หน้าใหญ่ โคนหางใหญ่ สีกายดำสนิท เป็นต้น ถ้าเป็นควายขาว (เผือก) จะต้องมีหางสั้น หน้าผากนูน และผิวกายสดใส
การเลี้ยงควายชนจะต้องเลี้ยงดูอย่างพิถีพิกันเช่นเดียวกับการเลี้ยงวัวชน ควายต้องได้ออกกำลังสม่ำเสมอ ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ และจะต้องได้มีโอกาสฝึกชนในบางครั้ง นอกจากนี้จะต้องระมัดระวังไม่ให้ใครเข้าใกล้ โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามในระยะเวลาใกล้ๆจะถึงเวลาที่จะชน เพราะอาจจะมีผู้วางยาทำให้เสียควายได้
ก่อนการชนจะมีการเปรียบคู่ชน โดยเจ้าของควายทั้งสองจะต้องไปดูควายของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากก็จะยินยอมให้ชนกันได้แต่เดิมการชนควาย ชนกันหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว สนามชนควายก็คือนาข้าวนั่นเอง ส่วนใหญ่จะนัดชนกันในโอกาสงานประจำปีของวัดต่างๆ หรืองานตรวจเลือกทหาร แต่ในปัจจุบันการชนควายในสนามทุ่งนาหมดไป เนื่องจากมีผู้เปิดบ่อนชนควายขึ้นซึ่งชนกันได้ทุกฤดูกาล
เมื่อใกล้ถึงวันจะชนการดูแลรักษาควายจะต้องพิถีพิถันมากยิ่งขึ้น เจ้าชองต้องนำควายไปเลี้ยงดูใกล้ๆกับสนาม เมื่อถึงเวลาชนจะมีหมอไสยศาสตร์ของแต่ละฝ่ายทำพิธีกันอย่างเอาจริงเอาจัง พิธีจะหมดสิ้นลงเมื่อปล่อยควายเข้าชนกันแล้ว การชนจะยุติลงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้วิ่งหนีออกจากสนาม
ความเชื่อเกี่ยวกับควายชนก็เหมือนๆกับวัวชน คือเชื่อเรื่องลักษณะของควายที่มีลักษณะต้องตามตำราว่าจะได้เปรียบควายคู่ชน ที่มีลักษณะด้อยกว่า และควายที่มีลักษณะดีจะนำความเป็นศิริมงคลมาสู่ผู้เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่นๆอีกมาก
การชนควายมีชนกันทั่วไปในอำเภอที่มีการทำนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ที่มีชนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็เฉพาะที่อำเภอเกาะสมุยเท่านั้น


 กีฬาชนควาย






เที่ยวชม งานวันเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
งานวันเงาะโรงเรียน เงาะโรงเรียนเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของสุราษฎร์ธานี จนได้เป็นหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ"
งานวันเงาะโรงเรียน จัดขึ้นประมาณ 2-8 สิงหาคมของทุกปี งานวันเงาะโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นผลิตผล ทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัด เงาะโรงเรียนที่มีคุณภาพ เปลือกภายนอกขนต้องไม่ยาวมาก มีผิวสีแดงอมชมพูไม่แดงจัด เนื้อในต้องหวาน กรอบ ล่อนไม่ติดเมล็ด งานนี้จะจัดขึ้น บริเวณสนามศรีสุราษฎร์ และริมเขื่อนแม่น้ำตาปีในตัวเมือง เพื่อนำผลิตผลเงาะโรงเรียน และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ มาแสดงและจำหน่ายแก่ผู้สนใจ กิจกรรมที่นอกเหนือจากนี้ได้แก่ นิทรรศการทางการเกษตร การแสดงของสุนัขสงคราม กองบิน 71 การแข่งขันลิงขึ้นมะพร้าว การประกวด นกเขาใหญ่การแข่งขันจักรยานสามล้อและการ ประกวดธิดาเงาะ ประกวดรถประดับด้วยผลเงาะและผลไม้อื่นๆ
ประวัติความเป็นมา
เงาะโรงเรียน หรือ เงาะพันธุ์โรงเรียน เป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นเงาะพันธุ์ดีที่สุดในโลก เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เงาะโรงเรียน มีชื่อมาจากสถานที่ต้นกำเนิดของเงาะ คือ โรงเรียนนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เงาะต้นแม่พันธุ์มีเพียงต้นเดียว ปลูกด้วยเมล็ดเมื่อ พ.ศ. 2469
ผู้ปลูกเงาะต้นแม่พันธุ์นี้ เป็นชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค หว่อง (Mr. K Wong) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอนาสาร ตั้งอยู่บนฝั่งคลองฉวาง ตรงข้ามกับโรงเรียนนาสาร ปัจจุบัน นายเค หว่อง ได้ซื้อที่ดินริมทางรถไฟด้านทิศตะวันตก จำนวน 18 ไร่ สร้างบ้านพักของตนและได้นำเมล็ดพันธุ์เงาะจากปีนัง มาปลูกทางทิศเหนือของบ้านทั้งสิ้น 4 ต้น (ขณะนี้เงาะพันธุ์นี้ที่เมืองปีนังสูญพันธุ์แล้ว) แต่มีเพียงต้นที่สองเท่านั้นที่มีลักษณะพิเศษ เมื่อสุกแล้วรสชาติหวาน หอม เนื้อกรอบ เปลือกบาง เงาะต้นนี้ก็คือ “เงาะพันธุ์โรงเรียน” พ.ศ.2479 เมื่อ นายเค หว่อง เลิกกิจการเหมืองแร่กลับเมืองปีนัง ได้ขายที่ดินผืนนี้พร้อมบ้านพักแก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ทางราชการจึงปรับปรุงให้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารจากวัดนาสารมาอยู่ที่อาคารแห่งนี้ เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2479 แต่เงาะพันธุ์โรงเรียนก็ไม่ได้แพร่หลาย เนื่องจากการส่งเสริมด้านการเกษตรไม่ดีพอ และทางโรงเรียนสงวนพันธุ์ไว้ ไม่ให้แพร่หลายในระหว่าง พ.ศ. 2489-2489 มีผู้ตอนกิ่งไปขยายพันธุ์ได้เพียง 3-4 รายเท่านั้น สาเหตุที่สงวนพันธุ์น่าจะเนื่องมาจาก กลัว “ต้นแม่พันธุ์” จะตาย ต่อมาปี พ.ศ. 2499 นายคำแหง วิชัยดิษฐ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาสาร และพิจารณาแล้วว่า เงาะต้นนี้เป็นเงาะพันธุ์ดี ควรให้มีการขยายพันธุ์อย่างแพร่หลาย จึงอนุญาตให้คนทั่วไปตอนกิ่งแพร่พันธุ์ได้ แต่การแพร่พันธุ์ก็ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
พ.ศ. 2500-2501 ได้มีการทาบกิ่งแพร่พันธุ์ และเวลาเดียวกันนั้น มีเงาะจากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส แพร่หลายเข้ามา คือ เงาะพันธ์ยาวี เงาะพันธุ์เจ๊ะโรง เงาะพันธุ์เปาราง ชาวบ้านนาสารเห็นว่า เงาะต้นนี้ยังไม่มีชื่อพันธุ์ได้ จึงเรียกกันว่า “เงาะพันธุ์โรงเรียน”
พ.ศ. 2502 เริ่มมีการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา ทำให้แพร่พันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
พ.ศ. 2505 เงาะต้นแม่พันธุ์ หักโค่น เนื่องมาจากมหาวาตภัยในภาคใต้ ทางโรงเรียนจึงได้ขยายพันธุ์ไว้ 40 ต้น
พ.ศ. 2512 ผู้นำชาวสวนเงาะผู้หนึ่ง ทูลเกล้าถวายผลเงาะโรงเรียนแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เสียใหม่ แต่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ชื่อเงาะพันธุ์โรงเรียนดีอยู่แล้ว” ตั้งแต่นั้นจึงไม่มีใครกล้าเปลี่ยนชื่อเงาะพันธุ์นี้
ลักษณะเด่นๆ ของเงาะพันธุ์โรงเรียนนาสารนี้ ได้แก่
1. เป็นเงาะเฉพาะถิ่น ขยายพันธ์ง่าย แพร่พันธุ์เร็ว ดังนั้นแม้จะนำไปปลูกในถิ่นอื่นได้ แต่รสชาติเงาะจะไม่ดี และเนื้อเงาะไม่กรอบเท่ากับต้นแม่พันธุ์ที่ตำบลนาสาร
2. เป็นเงาะรสดีที่สุด เนื้อกรอบ รสหวานหอม ผลค่อนข้างกลม เมื่อผลสุกปลายขนมีสีเขียว
3. เงาะพันธุ์โรงเรียน มีข้อด้อยประการหนึ่ง คือ เปลือกผลบาง หากมีฝนตกชุกเมืองผลเงาะ โตจะทำให้เปลือกแตก ผลร่วง เสียหาย
4. ลักษณะเด่นของต้นเงาะ คือ ลำต้นไม่สูง ต่างจากเงาะพันธุ์อื่น ทรงพุ่ม โดยปกติจะเตี้ย แผ่ออกทางด้านข้างมาก (ขึ้นอยู่กับวิธีปลูก และการตัดแต่งด้วย) ใบเงาะจะเล็กหนา ปลายค่อนข้างมนก้านใบเห็นเด่นชัด


 งานวันเงาะโรงเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น