วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของ จังหวัดสุราษฏธานี


จังหวัดสุราษฎร์ธานี


  
   
พบหลักฐานว่ามีมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นถ้ำ และเพิงผาในพื้นที่ป่าเขาทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและในพื้นที่ภูเขาหินปูน ที่กระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ
            ยุคสมัยนี้เชื่อมต่อกับสมัยประวัติศาสตร์ตอนปลาย
มีลักษณะพัฒนาการแบบก้าวกระโดดจากชุมชนที่ได้เครื่องมือหินขัด เข้าสู่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์โดยไม่พบพัฒนาการของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะเหมือนชุมชนในภูมิภาคอื่นๆ คือไม่พบพัฒนาการของชุมชน ที่ใช้โลหะสำริดอย่างเดียวโดยไม่มีเครื่องมือเหล็กปะปน แต่จะพบโลหะทั้งสองอย่างร่วมกัน ชุมชนในยุคนี้น่าจะมีอายุไม่เกินกว่า2,500 ปี
          หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ของสุราษฎร์ธานีค่อนข้างขาดแคลน ต้องอาศัยหลักฐานจากภายนอกมาเป็นตัวประกอบ หลักฐานเอกสารต่างประเทศได้แก่ หนังสือมหาวงศ์ หนังสือจุลวงศ์ พงศาวดารลังกา และจารึกของบัณฑยะในอินเดียใต้ ได้กล่าวว่าพระเจ้าจันทรภาณุได้ยกกองทัพไปโจมตีลังกาสองครั้ง ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 2 แห่งลังกา การรบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.1790 และครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ.1813 ต้องพ่ายแพ้แก่กองทัพลังกาทั้งสองครั้ง ในห้วงเวลานี้นครรัฐตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช จะต้องยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง จึงเชื่อว่าเมืองไชยาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 น่าจะอยู่ในอาณาจักรของนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 1
9 อาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฯ ได้แผ่อำนาจลงมายังดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยทั้งหมด ดินแดนประวัติศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอนถือเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยที่สะสมอารยธรรมและ สืบทอดกันมายาวนานจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนแห่งนี้ ทำให้ทราบว่าสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาการของเมืองเป็นอย่างยิ่ง สุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองที่ถูกจัดตั้งด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอน เป็นศูนย์กลางการค้าขายนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยพัฒนามาพร้อม ๆ กับชุมชนโบราณอีกหลายแห่งที่อยู่บริเวณรอบอ่าวบ้านดอน ประกอบด้วยชุมชนเมืองสำคัญ ๆ เช่น
          เมืองไชยา เมืองโบราณมีศูนย์กลางที่ราบลุ่มคลองไชยาเกิดขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เกิดผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมด้านศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธแบบเถรวาท มีชื่อเสียงมากเมื่อครั้งวัฒนธรรมศรีวิชัยเจริญรุ่งเรื่องในราวพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมืองไชยาเป็นเมืองหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของอาณาจักรนครศรีธรรมราช ชื่อว่าเมืองบันไทยสมอ
             เมืองเวียงสระ มีอายุรุ่นเดียวกับเมืองไชยาอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตาปี และแม่น้ำพุมดวง มีศูนย์กลางอยู่บริเวณตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่11 - 15 หรือ 16สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ ติดต่อกับทางทะเลไม่ได้การคมนาคมลำบากความสำคัญจึง ลดถอยลงไป เป็นเพียง การขยายชุมชน สะสมแหล่งอาหารเพื่อบำรุงเมืองเท่านั้น

          เมืองคีรีรัฐนิคมเป็นเมืองขนาดเล็กที่เป็นบริวารของเมืองเวียงสระ เรียกกันว่าเมือง " ธาราวดี "บ้าง " คงคาวดี " บ้าง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาโอบล้อมไปด้วยลำน้ำที่ไหลผ่าน เดิมเมืองนี้ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำรอบ ภายหลังมาขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าและยังไม่มีการปกครองเป็นหัวเมืองจึงเรียกกันว่า " คีรีรัฐนิคม " เมืองนี้มิได้เป็นศูนย์กลางทางการค้าแต่เป็นเมืองหน้าด่านควบคุมสินค้าทางเดินบกข้ามแหลมมลายูระหว่างฝั่งทะเลตะวันตกกับฝั่งทะเลตะวันออก
           เมืองท่าทองเป็นเมืองขนาดใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นเมืองสิบสอง นักษัตรของนครศรีธรรมราช ชื่อ "เมืองสะอุเลา"ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มลำน้ำท่าอุแท และคลองกะแดะควบคู่กันในอำเภอกาญจนดิษฐ์ อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นต้นมา เป็นชุมชนกระจัดกระจายพบว่าตำบลช้างขวาและใกล้เคียงมีศิลปกรรมสมัยทราวดี
          สมัยตั้งแต่รัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา ได้มีการฟื้นฟูบูรณะวัดต่างๆ ในเมืองไชยาที่สำคัญคือ วัดพระบรมธาตุ ให้เป็นวัดสำคัญประจำเมืองไชยา
             บทบาทของเมืองในสุราษฎร์ธานีในสมัยอยุธยา ค่อนข้างราบเรียบ คงจะเป็นเพราะศูนย์กลางการค้าทางทะเล ได้เปลี่ยนสถานที่ไปทำให้บทบาทของเมืองต่าง ๆ น่าจะเป็นเมืองกสิกรรมไม่โดดเด่นเช่นเมืองปัตตานี สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช
          ในปี พ.ศ.2328 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เมืองไชยา และเมืองท่าทอง ได้รับความเสียหายมาก ผู้คนอพยพออกไปจากตัวเมือง เข้าใจว่าน่าจะย้ายไปตั้งเมืองใหม่ที่พุมเรียง พุมเรียงได้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองไชยา จนกระทั่งมีการสร้างทางรถไฟสายใต้ ผ่านเมืองไชยา ทำให้ศูนย์กลางเมืองไชยาได้ย้ายกลับมาอยู่ใกล้สถานีรถไฟ การที่เมืองไชยาเก่าบริเวณที่ตั้งวัดเรียง ย้ายไปอยู่ที่พุมเรียงเป็นเวลาประมาณศตวรรษเศษ เป็นเหตุให้วัดต่าง ๆ ในเมืองไชยาที่เคยเจริญมาตั้งแต่ครั้งอยุธยากลายสภาพเป็นวัดร้าง เช่นวัดพระบรมธาตุไชยา วัดแก้วกาหลง เป็นต้นในปี พ.ศ.2375 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มาตั้งอู่เรือที่บ้านดอนและเมืองท่าทอง ตั้งเป็นโรงอู่ต่อเรือกำปั่นแปลงขนาดยาว 11 วา ทั้งเรือพระที่นั่ง และเรือรบ สำหรับทะเลเพื่อใช้ในราชการจำนวน 31 ลำ ด้วยทรงเห็นว่าชาวเมืองมีความรู้ความชำนาญในการต่อเรือมาแต่เดิม และมีไม้ตะเคียนทองที่มีคุณภาพดี หาได้ง่าย จากพื้นที่บริเวณคลองพุมดวง คลองยัน และคลองท่าทอง
         ในปี พ.ศ.2394 - 2411   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน เพราะมีผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่น นับตั้งแต่เจ้าพระยานคร (น้อย) เข้ามาตั้งกองต่อเรือ พระราชทานนามเมืองใหม่ว่า เมืองกาญจนดิษฐ์   ยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ และได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้นายพุ่ม บุตรเจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นพระยากาญจนดิษฐ์บดี ครองเมืองกาญจนดิษฐ์
        ในปี พ.ศ.2439 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกระบบกินเมือง มาเป็นระบบเทศาภิบาล ในปี พ.ศ.2440   ได้มีตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ฉบับแรกในภาคใต้ แบ่งเขตการปกครองเป็นสายมณฑลได้แก่ มณฑลภูเก็ต มณฑลชุมพร และมณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพรได้รวมเมืองไชยา เมืองกาญจนดิษฐ์ (บ้านดอน) เมืองหลังสวน และเมืองชุมพร โปรดให้รวมเมืองไชยา และเมืองกาญจนดิษฐ์ เข้าเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองไชยา (เป็นไชยาที่บ้านดอน) ชาวบ้านจึงเรียกชื่อเป็นไชยาเก่าคือ ไชยาที่พุมเรียง และไชยาใหม่คือ ไชยาที่บ้านดอน

        ต่อมาทางกรุงเทพ ฯ ได้ย้ายศูนย์กลางของมณฑลจากชุมพรมาอยู่ที่ไชยา (บ้านดอน) ผู้ที่มาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคือ พระยามหิบาลบริรักษ์ คนต่อมาคือ พระยาคงคาวราธิบดี ครองตำแหน่งมาถึงปี พ.ศ.2468
        ในปี พ.ศ.2458   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ได้ประทับแรมที่ตำหนัก ณ ควนพุนพิน หรือควนท่าข้าม ทรงทอดพระเนตรเห็นประชาชนพลเมือง มีกิริยามารยาทเรียบร้อยและทรงทราบจากเจ้าเมืองว่า ประชาชนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเคารพหนักแน่นในพระพุทธศาสนา จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา (บ้านดอน) เป็นเมืองสุราษฎร์ธานี ทรงเปลี่ยนชื่อแม่น้ำหลวงเป็นแม่น้ำตาปี 
ตามชื่อแม่น้ำตาปติในอินเดีย ซึ่งที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำมีเมืองชื่อ สุรัฎฐ (สุราษฎร์)   จึงทรงพระราชทานนามอันเป็นมงคลไว้ แกละโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายศาลาว่าการมณฑลมาตั้งที่บ้านดอน บริเวณเดียวกับศาลากลางเมืองไชยา ให้ยกฐานะเมืองท่าทองเป็นอำเภอ และเชื่อเมืองกาญจนดิษฐ์เป็นชื่ออำเภอ เมืองไชยาเก่าให้เปลี่ยนเรียกว่าอำเภอพุมเรียง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองไชยา เมื่อปี พ.ศ.2480   และได้ตัดคำว่าเมืองออกเมื่อปี พ.ศ.2491) ทรงเปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็นมณฑลสุราษฎรธานี
         ในปี พ.ศ.2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ยุบมณฑลสุราษฎร์มาขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ.2476   ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 ทำให้ระบบเทศาภิบาลถูกยกเลิกไป จังหวัดสุราษฎรธานีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักรสยาม ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย

1 ความคิดเห็น:

  1. T-Shirt - Titanium stud earrings
    › en-us › T-Shirts › titanium mens rings en-us titanium pipes › T-Shirts T-Shirts All T-Shirt titanium curling iron designs from T-Shirts. T-Shirts are created using only our high quality titanium mountain bikes T-Shirts. All T-Shirts have titanium ion color the most famous designs from the history of the

    ตอบลบ