วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จ.สุราษฏร์ธานี มี 18 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ

1.อำเภอเมือง สุารษฏร์ธานี
 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร
จากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีใช้เส้นทางสายสุราษฎร์ธานี-บ้านนาสาร ระยะทางประมาณ 6 กม. จากถนนใหญ่มีทางแยกด้านซ้ายมือ สู่ที่ทำการอีก 1 กม. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 2,900 ไร่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 210 เมตร เป็นป่าสงวนของกรมป่าไม้ที่มีบริเวณร่มรื่นสวยงาม บนยอดเขา เป็นจุดที่สา มารถ ชมทิวทัศน์รอบตัวเมืองสุราษฎร์ได้โดยรอบ และยังเป็นที่ตั้งของพระธาตุศรี สุราษฎร ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2500 นับเป็นปูชนีย สถาน องค์แรกของชาวบ้านดอน ต่อมาพระธาตุชำรุด มีรอยร้าวที่ฐาน พระธาตุจึงถูกรื้อแล้ว สร้างขึ้นใหม่เป็นทรง สูงเรียวลักษณะคล้ายลำเทียน นับว่าเป็นสถาปัตยกรรม ที่สวยงามแปลกตาอย่างหนึ่ง

-----------------------------------------
 บึงขุนทะเล
ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนทะเล ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ไปทางถนนสายสุราษฎร์ธานี -พุนพิน ประมาณ 5 กม. สามารถนั่งรถโดยสารสายบ้านดอน-โรงเรียนตำรวจภูธร 8 ไปถึงบริเวณ บึงได้บึงขุนทะเลเป็นแหล่ง น้ำสำคัญใช้ในการกสิกรรมนอกจากนี้ยังมีทิว ทัศน์ที่สวยงาม ตามธรรมชาติ มีศาลาสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และมีร้านอาหาร บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย

-----------------------------------------
 ปากน้ำตาปี
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบางกุ้ง ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 7 กม. ตามเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปากน้ำ มีคิวรถโดยสารอยู่เยื้องกับห้างจุฬาสรรพสินค้า ถนนบ้านดอน ปากน้ำตาปีมีร้านอาหารทะเลและร้านจำหน่ายของทะเลอยู่หลายร้าน นอกจากนี้ยังสามารถชมทิวทัศน์ธรรมชาติทางทะเลของอ่าวบ้านดอนได้อีกด้วย
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ปากน้ำตาปี



2.อำเภอพนม


เขาสก หรือ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน)  จังหวัดสุราฎร์ธานี  ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสก ลักษณะเป็นภูเขาหินปูน ยอดแหลม แนวหน้าผาสูงชัน กลางสายน้ำของเขื่อนเชียวหลาน  บรรยากาศสวยงาม จนได้รับสมญานามว่า กุ้ยหลินเมืองไทยภาพภูเขารายล้อมเขื่อน  นอนแพพายเรือคายัคและกิจกรรมต่างๆ  รวมทั้งภาพไอหมอกกระทบ กับแสงแดดลอยเหนือน้ำใน ยามเช้าเป็นทัศนียภาพที่สวยงามดึงดูดใจและสร้างความประทับใจ แก่นักท่องเที่ยว ให้เดินทางมาที่นี่อย่างไม่ขาดสาย ช่วงที่เหมาะ ที่สุดในการไปอุทยานแห่งชาติเขาสกจึงอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน และจะเริ่ม มีฝนตกตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม และจะตกชุกมากในช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน
เขาสก
เขาสก จะแบ่งจุดท่องเที่ยวออกเป็น 2 ส่วน คือ เขาสกส่วนของเขื่อนเชี่ยวหลานซึ่งนักท่องเที่ยวชทวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน จากนั้น ลงเรือเพื่อไปนอนแพ ชมเขาสามเกลอ(ภูเขาหินกลางน้ำ)  ซึ่งเรียกว่ากุ้ยหลินเมืองไทย เที่ยวถ้ำประการัง ถ้ำน้ำทะลุ กับ เขาสกส่วนที่เป็นที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสกซึ่งเป็นจุดที่ไปชม น้ำตก เดินป่า และ ชมบัวผุดจะอยู่คนละแห่งกัน ห่างกันประมาณ 60 ก.ม.  ซึ่งโปรแกรมที่เป็นที่นิยมซึ่งจะถูกบรรจุไว้ในโปรแกรมท่องเที่ยว ซึ่งจะคล้ายๆกันก็คือ เที่ยวเขาสก ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน  โดยวันแรกวันแรก ชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน ลงเรือนอนแพ เที่ยวชมถ้าปะการัง ชมเขาสามเกลอ ซึ่งจุดนี่ค่ะ ที่จะเรียกว่า กุ้ยหลินเมืองไทยนอนแพ เล่นน้ำ พายเรือคายัค  ส่วนวันที่ 2 ก็กลับขึ้นมายังฝั่งเขื่อนเชี่ยวหลาน จากนั้นก็ไปเที่ยวยัง เขาสก ส่วนที่เป็นอุทยาน เดินป่า ชมดอกบัวผุด ซึ่งต้องเดินเข้าไปประมาณ 2 กม. หรือบางทีก็อาจ 5 กม. จะบานในช่วงเดือน พ.ย. – มี.ค.
วิวทิวทัศน์เหนือเืขื่่ือนเขี่ยวหลาน
เขาสกเขาสก
บรรยากาศระหว่างล่องเรือไปชมกุ้ยหลิน เมืองไทย
เขาสกเขาสก
เขาสกเขาสก
เขาสกเขาสก
ภูเขาหินที่เรียกว่า กุ้ยหลินเมืองไทย
เขาสกเขาสก
เขาสกเขาสก
เขาสามเกลอ
เขาสกเขาสก
เขาสกเขาสก
ขึ้นแพไปชมถ้ำปะการัง
เขาสกเขาสก
เขาสกเขาสก
เขาสกเขาสก
ถ้ำปะการัง
เขาสกเขาสก
เขาสกเขาสก
เขาสก

 ในวันเด็กพาครอบครัวไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสก อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี 
แวะเติมแก๊สเต็มถังที่ปั๊มแก๊สไชยา ผ่านเขื่อนเชี่ยวหลาน มุ่งสู่ อช.เขาสก 





3.อำเภอกาญจนดิษฐ์

อำเภอกาญจนดิษฐ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้



4. อำเภอเกาะสมุย,

สถานที่ท่องเที่ยว             การเดินทาง        อุทยานห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
  เกาะสมุย
ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวไทย เป็นอำเภอหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากสุราษฎร์ธานีไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 84 กม. มีเนื้อที่ 247 ตรกม. กว้าง 21 กม. ยาว 25 กม. ถนนโดยรอบเกาะ (ถนนสายทวีราษฎร์ภักดี) ยาว 50 กม. พื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะเป็นที่ราบ ล้อมรอบภูเขา
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ธันวาคมและฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคมเป็นช่วงคลื่นลมสงบเหมาะสมแก่การท่องเที่ยว
เมื่อต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เกาะสมุยขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อพ.ศ.2440 ได้จัดระบบการปกครองประเทศใหม่ ตั้งเป็นอำเภอเกาะสมุย นายอำเภอเกาะสมุยคนแรกคือ พระยาเจริญราชภักดี(สิงห์ สุวรรณรักษ์) และในปีพ.ศ.2540 เกาะสมุยมีอายุครบ 100 ปี ทางจังหวัดได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสนี้
คำว่า "สมุย" เป็นคำมาจากภาษาใดไม่ปรากฏแน่ชัด มีข้อสันนิษฐานต่างๆ นานา บ้างก็ว่ามาจากภาษาจีนไหหลำว่า "เช่าบ่วย" แปลว่า "ด่านแรก" หรือ "ประตูแรก" เพราะในสมัยก่อนชาวจีนที่มาติดต่อค้าขายกับประเทศไทยใช้เรียกเกาะสมุยเมื่อมาแวะพักจอดเรือ ต่อมาออกเสียงเพี้ยนเป็น "สมุย" บ้างก็ว่ามาจากภาษาทมิฬว่า "สมอย" แปลว่า คลื่นลม บ้างก็ว่ามาจากชื่อต้นไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในภาคใต้ คือ "ต้นหมุย" บ้างก็ว่า "สมุย" เป็นคำภาษามลายู ซึ่งพวกแขกมลายูที่มาติดต่อค้าขายกับประเทศไทยใช้เรียกเกาะสมุย

------------------------------------------- 
  การเดินทางไปเกาะสมุย
icon_railway.gif (1048 bytes)รถไฟมีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน การรถไฟฯ มีตั๋วร่วมกรุงเทพฯ-เกาะสมุย ลงรถที่สถานีรถไฟอ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานีและต่อรถประจำทางไปที่ท่าเรือดอนสักเพื่อข้ามเรือเฟอรี่ไปเกาะสมุยสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร 223-7010, 223-7020
icon_bus.gif (237 bytes) รถโดยสารประจำทางมีบริการรถโดยสารปรับอากาศ และรถโดยสารธรรมดาจากกรุงเทพฯ เดินทางโดยตรงถึงเกาะสมุยโดยไม่รวมค่าโดยสารเรือเฟอร์รี่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 14 ชั่วโมง ค่าโดยสารรถปรับอากาศชั้น 1 ราคา 327 บาท รถปรับอากาศชั้น 2 ราคา 256 บาท
รายละเอียดติดต่อ บริษัท ขนส่งจำกัด โทร. 435-1199, 435-1200 (รถปรับอากาศ), 434-5557-8 (รถธรรมดา) และบริษัทโสภณทัวร์ โทร. 435-5023 (รถออกวันเว้นวัน)
icon_airway.gif (964 bytes) เครื่องบินบริษัท บางกอกแอร์เวย์ เปิดบริการเที่ยวบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-เกาะสมุย ทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-หัวหิน-สมุย ภูเก็ต-เกาะสมุย และอู่ตะเภา-เกาะสมุย บริการอีกด้วย สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 229-3456 (กรุงเทพฯ) หรือที่เกาะสมุย โทร. (077) 422512-8
action.gif (177 bytes) เรือโดยสาร1. เรือเฟอร์รี่ ของบริษัทสมุยเฟอร์รี่ ออกจากท่าเรือดอนสักซึ่งอยู่บริเวณแหลมกุลา ต.ดอนสักห่างจากที่ว่าการอ.ดอนสักประมาณ 6 กม. เพื่อไปยังท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวท้องยาง เกาะสมุย ทุกวันวันละ 7 เที่ยว ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาที อัตราค่าโดยสารคนละ 40 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (077) 371151, 371206 สำนักงานเกาะสมุย โทร. (077) 423026 โทรสาร 423027

น้ำตกหน้าเมือง
 น้ำตกหน้าเมือง
ป็นน้ำตกที่สวยงามอยู่ท่ามกลางสวนมะพร้าวและสวนผลไม้ของชาวบ้าน ในช่วงกลางฤดูฝนจะมีน้ำมากและสวยกว่าช่วงอื่น ๆ น้ำตกหน้าเมืองมี 2 แห่งคือ น้ำตกหน้าเมือง 1 และ 2 แต่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวน้ำตกหน้าเมือง 1 มากกว่าเนื่องจากเดินทางได้สะดวก มีถนนลาดยางไปถึงตัวน้ำตก นอกจากนี้ยังมีบริการขี่ช้างเที่ยวป่าสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจอีกด้วย บริเวณลานจอดรถมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และเก้าอี้ให้นั่งพักผ่อนหย่อนใจ
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

น้ำตกหินลาด

------------------------------------------- 
 น้ำตกหินลาด 
หาดสวยงามที่บรรยากาศสงบเหมาะกับการพักผ่อน เล่นน้ำ รีสอร์ท เป็น จากหาดบ่อผุดราว 2 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด บรรยากาศสบาย ๆ เงียบสงบทอดตัวยาวราว 5 กิโลเมต
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

พระใหญ่------------------------------------------- 
 พระพุทธรูปใหญ่
 สถานที่ท่องเที่ยวมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ชื่อ "พระพุทธโคดม" ขนาดหน้าตักกว้าง 5 วา 9 นิ้ว บริเวณเกาะฟาน เป็นที่ตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานสำหรับให้ผู้สนใจปฏิบัติธรรมพักอาศัยได้
ท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

------------------------------------------- 



5. อำเภอดอนสัก, 
 

อำเภอดอนสัก          เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกาญจนดิษฐ์ ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวัน 24 มีนาคม 2512 มี 2 ตำบล คือ ตำบลไชยคราม และตำบลดอนสัก และเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2512 ได้รับการโอนจากอำเภอกาญจนดิษฐ์เพิ่มอีก 1 ตำบล คือ ตำบลชลคราม ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ   ดอนสักเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ต่อมาได้แยกตำบลดอนสักกับตำบลไชยคราม ออกเป็นตำบลปากแพรกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2521รวมเป็น4 ตำบล 

 น้ำตกวิภาวดี
หรือ น้ำตกบ้านใน อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 401 บริเวณกม.ที่ 60-61 หรือ 38 กม. จากตัวเมืองตรงทางแยกจะเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอดอนสัก น้ำตกวิภาวดีเป็นน้ำตกขนาดกลาง มีประชาชนนิยมเดินทางมาพักผ่อน กันมากในวันหยุดสุดสัปดาห์ จากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี มีรถโดยสาร ประจำทางผ่าน 2 เส้นทางคือ สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก น้ำตกวิภาวดีตั้งอยู่ในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน หมู่ที่ 8 ตำบลตะกุกใต้ กิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถเดินทางไปตามทางสุราษฎร์ธานี-คีรีรัฐนิยม และเลี้ยวขวาตรงสามแยกก่อนที่จะเข้าอำเภอคีรีรัฐนิคม ลักษณะเส้น ทางจะเป็นทางราดยางไปจนถึงน้ำตก

-------------------------------------------
 วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
อยู่ห่างจากชุมชนอำเภอดอนสัก 1 กม. จะมีทางราดยางเข้า ไปจนถึง บริเวณวัด บนยอดเขาเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ บรรจุพระ บรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้มาจากวัดพระเกียรติ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พระครูสุวรรณประดิษฐ์การ หรือหลวงพ่อจ้อย เกจิอาจารย์ชื่อ ดังแห่ง ภาคใต้เป็นผู้บุกเบิกสร้างขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
เจดีย์วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
ท่องเที่ยว

ท่าเรือเฟอร์รี่ไปเกาะสมุย-------------------------------------------
 วังหิน
ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก ห่างจากอำเภอดอนสัก ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 2 กม.เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ มีโขด หินตั้งเรียงรายกลมกลืนกับชายฝั่งทะเลเหมาะแก่การไปเที่ยว มีบริการบ้านพักให้เช่าทั้งแบบบ้านตากอากาศ (บังกาโล) และเรือนแถว

-------------------------------------------
 ท่าเรือเฟอร์รี่
อยู่บริเวณแหลมกุลา หมู่ที่ 10 ตำบลดอนสัก อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ประมาณ 6 กม. เป็นท่าเรือข้ามฟากขนาดใหญ่ รับคนโดยสารเดินทาง ไปเกาะสมุย บริเวณท่าเรือเป็นเนินเขาเตี้ยๆเหมาะแก่การพักผ่อน หย่อนใจ มีถนนตัดเชื่อมระหว่างท่าเรือกับหาดนางกำ ซึ่งเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว ที่สำคัญของอำเภอดอนสสัก
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว






6.อำเภอไชยา, 
 

 สวนโมกขพลาราม
สวนโมกขพลาราม
อยู่บริเวณเขาพุทธทอง แยกจากทางหลวงหมายเลข 41 ก่อนถึงตลาดไชยาเล็กน้อย ตรงหลักกม.ที่ 71-72 เดิมชื่อวัดธารน้ำไหล มีท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 เพื่อเป็นสถานที่ แสวงหาความสงบและศึกษาธรรม รอบบริเวณร่มรื่นเหมาะสำหรับเป็นที่ฝึกอบรมจิตใจและศึกษาพุทธ ศาสนา มีการสอนฝึกสมาธิแก่ชาวต่างประเทศ ทุกวันที่ 1-10 ของทุกเดือน
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา-----------------------------------------
 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา
ตั้งอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตำบลเวียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาคารหลังแรกด้านหน้าจัดแสดงประติมากรรมศิลา และสำริดที่ค้นพบในเมืองไชยาเก่า ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ส่วนอาคารที่สอง เป็นที่จัดแสดงหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา นอกจากนี้ยังจัดแสดงงานประณีตศิลป์ต่างๆ อีกมากมาย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา เปิดบริการตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร ส่วนค่าบริการเข้าชม ชาวไทย 5 บาท ชาวต่างประเทศ 10 บาท
การเดินทาง จากตัวเมืองสุราษฎร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ประมาณ 50 กม. เลี้ยวขวาบริเวณ ก.ม. ที่ 134 จะถึงสวนโมกขพลาราม และไปเลี้ยวขวาตรงสี่แยกโมถ่ายและตรงไปจนถึงวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร สำหรับรถโดยสารประจำทาง ที่ผ่านแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวได้แก่ รถโดยสารสายสุราษฎร์ธานี-ระนอง และสุราษฎร์ธานี-ชุมพร นอกจากนี้ยังมีรถแท็กซี่บริการในเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ไชยา อีกด้วย
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

-----------------------------------------
 วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร  รวมภาพ: วัดพระบรมธาตุไชยาราวรวิหาร
ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอไชยา ห่างจากที่ตั้งอำเภอไชยา 1 กม. องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถาน ที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน พระธาตุไชยานับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาของจังหวัด สุราษฎร์ธานี
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
พระธาตุไชยา
ท่องเที่ยว

บ้านพุเรียง-----------------------------------------
 หมู่บ้านพุมเรียงและแหลมโพธิ์
เจดีย์แก้วอยู่ตำบลพุมเรียง ห่างจากตัวอำเภอ 6 กม.   ผ้าไหมพุมเรียงเป็นผ้าไหมยกดิ้นเงิน หรือดิ้นทองสวยงาม เป็นสินค้าพื้นเมืองที่มีชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เลยจากหมู่บ้านไป 2 กท.   ตามเส้นทาง พุมเรียง-ชายทะเล จะถึงแหลมโพธิ์ชายทะเลที่น่าเที่ยวแห่งหนึ่งของตำบลพุมเรียง จากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีใช้บริการรถโดยสารในเส้นทาง สายสุราษฎร์-ระนอง หรือ สุราษฎร์ธานี-ชุมพร จากตัวเมืองไชยาใช้บริการรถ โดยสารประจำทางสายไชยา-พุมเรียง
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

-----------------------------------------
 วัดรัตนาราม หรือวัดแก้ว
ตั้งอยู่ที่บ้านวัดแก้ว ตำบลเสม็ด มีเนื้อที่ 12 ไร่เศษ วัดแก้วเป็นวัดเก่าแก่ ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าเจดีย์วัดแก้วสร้างร่วมสมัยกับเจดีย์วัดพระบรมธาตุไชยา คือประมาณระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 มีโบราณสถานที่สำคัญเรียกว่า เจดีย์วัดแก้ว เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมศรีวิชัย สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ลักษณะของเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบก่ออิฐไม่ถือปูน ฐานล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุข 4 ด้านระหว่างมุขทำเป็นย่อมุมไม้สิบสอง ซุ้มด้านทิศตะวันออก มีทางเดินไปห้องกลางขององค์เจดีย์ ภายในซุ้มมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ทุกซุ้ม กองโบราณคดีกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะในปี พ.ศ. 2519-2522
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

-----------------------------------------
 วัดหลง
เจดีย์แก้วตั้งอยู่ที่บ้านวัดหลง เป็นวัดเก่าแก่ ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าเจดีย์ของวัดนี้สร้างร่วมสมัยกับเจดีย์วัดพระบรมธาตุไชยา คือประมาณระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 \เป็นเจดีย์ที่ทิ้งร้างมานาน จนชำรุดเหลือแต่ซากอิฐและฐานราก กองโบราณคดี กรมศิลปากรได้ขุดแต่ง บูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2524-2527 ทำให้สภาพของรูปทรงเจดีย์ชัดเจนขึ้น
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

-----------------------------------------




                                        7. อำเภอท่าชนะ
                                                                                


 หอยขาวอร่อยดี   คันธุลีทุเรียนเด็ด   หาดสำเร็จเที่ยวสบาย   ท่ากระจายผ้าไหมงาม 
เลื่องลือนามระกำหวาน  ไหว้อังคารพุทธทาส   ชมธรรมชาติเขาประสงค์  ลืมไม่ลง...ท่าชน

ประวัติ

อำเภอท่าชนะ
          เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งมาแต่โบราณ  เมื่อ พ.ศ. 2437- 2441  ปรากฏหลักฐานว่า เคยเป็นอำเภอมาแล้วเรียกว่า อำเภอประสงค์หรือพสง  ตั้งที่บ้านปากน้ำบ้าน  ท่ากระจาย ปรากฏหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 5  เรื่องมณฑลชุมพร ปี พ.ศ.2441ตอนหนึ่งว่า “….อำเภอพสง (ประสงค์-ผู้เขียน) ทิศเหนือติดต่อกับเมืองหลังสวนเดิมพระวัฒนอุดม (พง) ว่าที่กรมการอำเภอ (นายอำเภอ-ผู้เขียน)  ตั้งที่ว่าการอำเภอพสงพระวัฒนอุดม  ไม่พอ(ใจ)   ลาออก  ให้นายปานว่าที่กรมการตั้งที่ว่าการริมคลองริริน้ำตำบลท่าจาย (ท่ากระจาย-ผู้เขียน)
มีหลักฐานตั้งแต่ ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2451) ว่า พื้นที่อำเภอท่าชนะในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตพื้นที่ของ อำเภอประสงค์ ขึ้นอยู่กับเมืองไชยา สังกัดมณฑลชุมพร ต่อมา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2453) เมื่อมีการปรับปรุงหัวเมืองและเทศาภิบาลทั้งหลาย อำเภอประสงค์ถูกยุบลงเป็นกิ่งอำเภอประสงค์ ภายหลังถูกยุบลงอีกเป็นตำบล สังกัดกับเมืองไชยา หลังจากนั้นได้มีการรวมพื้นที่ของตำบลประสงค์ วัง ท่าชนะ สมอทอง และคันธุลี ตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าชนะ และเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอท่าชนะ จนถึงปัจจุบัน






                                                 8. อำเภอท่าฉาง


 ฟาร์มหอยแครง   แหล่งกุ้งกุลาดำ   แห่พระน้ำประจำปี   ประเพณีแข่งเรือ    ล้นเหลือนาข้าว 
 มะพร้าวหมากพลู  งามหรูธารน้ำร้อน  อนุสรณ์พ่อท่านแบน  หมื่นแสนตาลโตนด  ของโปรดเคยกุ้ง


อำเภอท่าฉาง          เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมท้องที่นี้ก่อนยกฐานะเป็นอำเภอขึ้นอยู่ในเขตปกครองของอำเภอไชยา  เดิมเรียกว่า " เมืองไชยา "  ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2453 กระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า "  กิ่งอำเภอท่าฉาง "  ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอไชยา ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอ  เมื่อวันที่  1  สิงหาคม 2481  เรียกว่า  " อำเภฟอท่าฉาง "  มาจนปัจจุบัน


ประวัติความเป็นมา :
คำว่าท่าฉาง มาจากคำว่า "ท่า" หมายถึงท่าน้ำริมคลองริมแม่น้ำ "ฉาง" หมายถึงฉางข้าวที่เก็บรวบรวมข้าวเพื่อจัดส่งเป็นสวยหรืออากร ราษฏรจึงรวมเรียกพื้นที่รวบรวมข้างแห่งนี้ว่า"ท่าฉาง" จนถึงปัจจุบัน และใช้เป็นชื่อของอำเภอท่าฉาง และตำบลท่าฉางด้วย
 สภาพทั่วไปของตำบล :
ตำบลท่าฉางตั้งอยู่ทางตอนใต้ของที่ว่าการอำเภอ มีคลองท่าฉางเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลอ่าวไทย สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ลาดเทจากตะวันตกสู่ชายฝังทะเลด้านตะวันออก
 อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ทิสตะวันออก ติดกับ อ่าวบ้านดอน (อ่าวไทย)
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.เสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
 จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 2,254 คน และจำนวนหลังคาเรือน 628 หลังคาเรือน
 ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนา/ทำสวน/ทำไร่/ประมง (เลี้ยงกุ้งและประมงชายฝั่ง)
อาชีพเสริม ค้าขาย/รับจ้าง
 ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. โรงพยาบาลท่าฉาง
2. สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจันทาราม
4. วัดจำนวน 5 วัด
5.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าฉาง
6. โรงเรียนประถมศึกษา 4 โรง

เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
 ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล                                   

                                        

                                          9.อำเภอบ้านนาสาร






เงาะโรงเรียนชื่อเฟื่อง    รวยเหมืองแร่    แท้น้ำผึ้ง   น่าทึ่งปลาเม็งยำ 
เลิศล้ำถ้าผา เพลินตาน้ำตกสวย

งดงามด้วยอุทยาน



 น้ำตกเหมืองทวด
 น้ำตกเหมืองทวด



น้ำตกเหมืองทวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
น้ำตกเหมืองทวดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างยิ่ง "น้ำตกเหมืองทวด" อีกหนึ่งน้ำตกสวยของอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อยู่ในฟื้นที่ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นน้ำตกที่รู้จักกันแพร่หลายในเขตอำเภอบ้านนาสาร มี 7 ชั้น ชั้นสูงสุดสูง
เที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี น้ำตกเหมืองทวด
"น้ำตกเหมืองทวด" อีกหนึ่งน้ำตกสวยของอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อยู่ในฟื้นที่ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นน้ำตกที่รู้จักกันแพร่หลายในเขตอำเภอบ้านนาสาร มี 7 ชั้น ชั้นสูงสุดสูงประมาณ 20 เมตร
บริเวณน้ำตกร่มรื่นมีแอ่งน้ำสวยงาม ตลอดทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งในฟื้นที่และจากต่างฟื้นที่ ไปเยือนอยู่ไม่ขาด เส้นทางสู่น้ำตกร่มรื่น มีไม้ใหญ่ขนาดหลายคนโอบให้เห็นตลอดสองข้างทาง
การเดินทาง : สามารถเดินทางจากอำเภอ บ้านนาสาร โดยเริ่มจากอำเภอบ้านนาสารไปตามทางหลวงแผ่นดินสายนาสาร-บ้านส้อง ประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกไปตามถนนบ้านช่องช้าง-เหมืองทวด ประมาณ 8 กิโลเมตร
                                     ถ้ำขมิ้น



ถ้ำขมิ้น เป็นถ้ำที่มีประวัติยาวนานตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมากล่าวว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราย มีพระราชดำริให้ท่านขุนวรรณวงศ์ษาเดินทางมาบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุนครศรีธรรมราช ขณะเดินทางถึง อ.บ้านนาสาร เป็นฤดูน้ำหลากจึงได้ต่อเรือข้ามคลองฉวางแต่เนื่องจากน้ำที่ไหลเชี่ยวกราดมากทำให้ เรือชนกับตอไม้จนเรือแตก กระแสน้ำพัดคณะของท่านมาติดบริเวณถ้ำขมิ้น คณะของท่านฯได้ออก สำรวจพื้นที่รอบๆ จนพบถ้ำขมิ้นและอาศัยอยู่ในถ้ำจนสิ้นชีวิต

สถานที่ท่องเที่ยว

น้ำตกดาดฟ้า



น้ำตกดาดฟ้า ซึ่งในอดีตเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยุ่ในอำเภอบ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี น้ำตกดาดฟ้า จัดว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่และสูงที่สุดในจังหวัด มีหมู่ไม้นานาพันธ์คอยให้ความร่มรื่นสวยงาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ได้เป็นอย่างดี เป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดทั้งปี น้ำตกแห่งนี้มีทั้งหมด 8 ชั้น

                                                                    






10.อำเภอพระแสง  

“แทรกเตอร์พระราชทาน มีตำนานท่านหญิง งามจริงบางสวรรค์
ปาล์มน้ำมันชั้นดี ธารตาปีสัมพันธ์ มหัศจรรย์สระแก้ว
king2
ประวัติความเป็นมา
            “พระแสง”   เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกจัดตั้งครั้งแรกปี พ.ศ. 2439 (ร.ศ.114) หรือประมาณ 11๕ ปีเศษ เดิมขึ้นอยู่กับมณฑลนครศรีธรรมราชครั้นเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 124) ทางราชการได้โอนอำเภอพระแสง มาขึ้นกับเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
            คำว่า “พระแสง”   นั้น ตามตำนานโบราณเล่าว่า ในสมัยที่อำเภอพระแสงกับมณฑลนครศรีธรรมราช ทางราชการได้ส่ง “พระแสงภิรมย์” มาปกครองเมืองพระแสงเพื่อดูแลความทุกข์สุขของราษฎรและได้เข้ามาดำเนินการบุกเบิกแผ้วถางเพื่อสร้างที่ว่าการอำเภอพระแสง โดยให้ราษฎรช่วยกันตัดต้นไม้ ขุดดิน ปรากฏว่าได้ขุดพบดาบเล่มหนึ่ง มีลักษณะไม่เหมือนดาบทั่วไป แต่มีลักษณะเหมือนดาบของกษัตริย์ จึงได้นำดาบเล่มนั้นมาประดิษฐานไว้บนที่ว่าการอำเภอ และได้ขนานนามอำเภอว่า”อำเภอพระแสง”ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาพระแสงดาบเล่มนั้นถูกส่งไปอยู่ ณ ที่ใด ไม่ปรากฏหลักฐานองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ และพระราชวงศ์ได้เสด็จมาปฎิบัติพระกรณียกิจ ด้านการพัฒนา พระราชทานความช่วยเหลือพสกนิกรอำเภอพระแสง เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๑ และทรงเสด็จอีกครั้งเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๑ ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานรถแทรกเตอร์บุลโดเซอร์ ดี ๔ ไว้ ๑ คัน เพื่อบุกเบิกพัฒนาพื้นที่อำเภอพระแสง(ปัจจุบันได้จัดแสดงไว้เป็นอนุสรณ์สถานไว้ที่บริเวณแยกไสนา) นอกจากนั้นแล้วพระองค์ทั้งสองทรงปลูกต้นราชพฤกษ์ ไว้ จำนวน ๒ ต้นบริเวณหน้าที่ว่าอำเภอพระแสงซึ่งป้ายแสดงไว้ว่า “ต้นไม้ที่พ่อปลูก”



  




  










                                             11. อำเภอเวียงสระ





              เมืองเวียงสระ    เป็นเมืองโบราณอายุรุ่น
ราวคราวเดียวกับเมืองไชยา แต่มีอายุสั้นกว่า ตั้งอยู่
ในแถบที่ราบลุ่ม แม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวง มีศูนย์
กลางอยู่ที่ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ ริมฝั่งขวา
ของแม่น้ำตาปีหรือแม่น้ำหลวง เป็นเมืองที่มีอายุอยู่
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 หรือ 16 หลังจากนี้
ก็ดูจะเลิกร้างไป เนื่องจากสภาพสถานที่ตั้งเมืองไม่
เหมาะสม อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ การคมนาคม
ติดต่อกับเมืองอื่นลำบาก โดยเฉพาะการติดต่อกับ
เมืองอื่นทางทะเลทำไม่ได้คล้ายกับเป็นเมืองปิด แม้จะมีเมืองท่าอยู่ปากอ่าว แต่ก็ยังอยู่ไกลไปมาลำบาก 
การติดต่อค้าขายให้เจริญ ขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บก็มิใช่น้อย จึงต้องอพยพเคลื่อ
ย้ายไปอยุ่ที่อื่น ภายหลังส่งผู้คนกลับมาบุกเบิกอีก ก็เป็นเพียงการขยายชุมชน สร้างสมเสบียงกรัง และเพื่อ
แสวงหาโภคทรัพย์บำรุงบ้านเมือง



                                            12. อำเภอเคียนซา


 

 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหนองทุ่งทอง
อยู่ในท้องที่ตำบลเขาตอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด 18,475 ไร่ หรือประมาณ 29.56 ตรกม.
   ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2528 สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มสลับกับ
หนองน้ำ มีหนองน้ำใหญ่เป็นที่อาศัยของนกและสัตว์น้ำอยู่ถึง 5 แห่ง หนองน้ำที่ใหญ่ที่สุดคือ หนอง
ทุ่งทอง มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สัตว์ที่พบมากในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่ ลิง กระจง นาก ไก่ป่า 
ชะมด พังพอน และนกชนิดต่างๆ กว่า 70 ชนิด ซึ่งอพยพถิ่นอาศัยมาจากเขตหนาว ช่วงที่มีนกมากที่สุด
 ได้แก่เดือนตุลาคม-มีนาคมการเดินทาง จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้เส้นทางสุราษฎร์-นาสาร
 (ทางหลวงหมายเลข 4009) กม. ที่ 18 เลี้ยวขวาผ่านอำเภอบ้านนาเดิม บรรจบกับทางหลวงสายเอเซีย
 (41) จะเห็นป้ายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าชี้เข้า


                                            13. อำเภอบ้านตาขุน

อำเภอบ้านตาขุน เป็นอำเภอขนาดเล็กในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เนื้อหา

  [แสดง

[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบ้านตาขุนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

[แก้]การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบ้านตาขุนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 29 หมู่บ้าน ได้แก่
1.เขาวง(Khao Wong)6 หมู่บ้าน
2.พะแสง(Phasaeng)9 หมู่บ้าน
3.พรุไทย(Phru Thai)9 หมู่บ้าน
4.เขาพัง(Khao Phang)5 หมู่บ้าน
แผนที่

[แก้]การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบ้านตาขุนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพังทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านตาขุน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขาวง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านตาขุน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพะแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพะแสงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพรุไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรุไทยทั้งตำบล





                                                 14. อำเภอเกาะพะงัน


เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เกาะพะงันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากเกาะสมุยไปทางทิศเหนือ ประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที และอยู่ห่างตัวจังหวัด 100 กิโลเมตร เกาะพะงันมีเนื้อที่ 170 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในจำนวน 48 เกาะ
สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เกาะพะงัน อยู่ห่างจาก เกาะสมุย ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที และอยู่ห่างตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี 100 กิโลเมตร เกาะพะงันมีเนื้อที่ 170 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในจำนวน 48 เกาะ ที่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง ภูมิประเทศของเกาะพะงันมีภูเขาอยู่ตรงกลางเกาะ ทอดตัวจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีที่ราบทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาจรดทะเล บางแห่งก็มีอ่าวเล็กอ่าวน้อยเรือเข้าจอดได้เป็นบางฤดู ช่วงมรสุมตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม จะมีลมตะวันออกพัดผ่านซึ่งไม่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว เกาะพะงันมีชายหาดขาว น้ำทะเลใสน่าเล่นน้ำหลายหาด ร่มรื่นด้วยทิวไม้ริมชายหาด ความเงียบสงบของชายหาดต่าง ๆ บนเกาะเป็นเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวจะได้พบ เกาะพะงัน เป็นเกาะที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเวลาช้านาน สันนิษฐานว่าพวกแรกที่มาอยู่บนเกาะพะงันน่าจะเป็นแขกจากมลายูที่อยู่แถบ จังหวัดนครศรีธรรมราชหรือไม่ก็เป็นพวกแขกที่มาจากปัตตานีมาอาศัยทำการประมง เป็นหลัก โดยสังเกตจากชื่อของเกาะและสถานที่บางแห่งบนเกาะ
สถานที่น่าสนใจบนเกาะพะงัน
ท้องศาลา เป็น ชุมชนที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอเกาะพะงัน เป็นศูนย์กลางของการติดต่อค้าขายของธุรกิจต่าง ๆ และเป็นที่ตั้งของท่าเรือโดยสารสำหรับการเดินทางไปสุราษฎร์ธานี เกาะสมุย เกาะเต่า มีธนาคาร บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ท่าจอดรถสองแถว
อุทยานแห่งชาติน้ำตกธารเสด็จ เดิมชื่อ วนอุทยานน้ำตกแพง มีพื้นที่ 41,250 ไร่ รวมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะพะงัน และพื้นที่ป่าที่อยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่รอบเกาะพะงัน อุทยานฯ ยังคงสภาพของป่าที่สมบูรณ์ มีพืชหลากหลายชนิด และมีกล้วยไม้ที่ลำต้นใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ เพชรหึงหรือว่านหางช้าง โดยลำต้นที่มีความสูงกว่าสามเมตร เมื่อออกดอกก้านช่อดอกมีความยาวกว่าสองเมตร ดอกใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร กลีบดอกสีเขียวจนถึงเหลืองทอง และมีแต้มสีน้ำตาลแดงกระจายไปทั่ว ความสมบูรณ์ของป่าทำให้มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด อาทิ กวางป่า หมูป่า ค่างแว่นถิ่นใต้ และชะมด รวมทั้งนกต่าง ๆ อุทยานฯ มีต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์คือ ต้นพะงาหรือต้นวา มียอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดเขาหรา สูง 627 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของเกาะพะงัน สภาพอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี การเดินทาง สามารถเช่ารถจากหาดท้องศาลาซึ่งอยู่ห่างจากอุทยานฯ 5 กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
น้ำตกแพง เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ เป็นน้ำตกที่สวยงามมีหลายชั้น เช่น แพงน้อย ธารน้ำรัก ธารกล้วยไม้ เป็นหนึ่งในสายธารเล็ก ๆ ของสายน้ำตกแพง (แพง ภาษาถิ่นหมายถึง เพิงหินเล็ก ๆ ที่ลดหลั่นอันแสดงถึงความชุ่มชื้นของผืนป่า) ที่มีน้ำไหลตลอดปีที่แสดงถึงความสมบูรณ์ของผืนป่า และมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ น้ำตกแพง-จุดชมวิวโดมศิลา ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง เป็นเส้นทางที่เดินเลียบน้ำตก ทางชันเล็กน้อย ในเส้นทางจะพบพรรณไม้ต่าง ๆ ลำธารและน้ำตก ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ รวมทั้งกล้วยไม้เพชรหึง กล้วยไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของอุทยานฯ อีกด้วย
จุดชมวิวโดมศิลา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 500 เมตร เป็นจุดชมวิว และชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม
น้ำตกธารเสด็จ อยู่ตำบลบ้านใต้ เป็นน้ำตกที่รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสและได้พระราชทานนามไว้ อีกทั้งเป็นน้ำตกที่ทรงโปรดมาก โดยได้เสด็จประพาสถึง 14 ครั้งตลอดรัชกาล นอกจากนั้น รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 พร้อมพระมเหสี และรัชกาลที่ 9 ก็เคยเสด็จประพาส และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้ที่ก้อนหินบริเวณน้ำตกทุกพระองค์ การเดินทางไปน้ำตกธารเสด็จ สามารถไปได้ทั้งทางเรือและทางรถ หากเดินทางโดยทางเรือ เมื่อเริ่มเข้าอ่าวธารเสด็จจะพบความงามของภูเขาโขดหินที่มีรูปร่างแปลก ๆ และหาดทรายสีขาว เมื่อขึ้นจากเรือแล้วเดินไปไม่ไกลนักจะพบกับลำธารมีกระแสน้ำไหลผ่านปะทะแก่ง หินที่มีอยู่มากมาย ทำให้เกิดเสียงดังตามความเร็วของกระแสน้ำ ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม ไม่สามารถนั่งเรือไปน้ำตกได้ และถ้าเป็นทางรถจะต้องเป็นรถที่มีสมรรถนะสูงจึงจะสามารถเดินทางไปได้ แต่ถ้าเป็นหน้าฝนการเดินทางจะลำบากมาก เพราะทางที่ผ่านจะเป็นทางลาดชันตลอดและเป็นภูเขาสูง การเดินทางจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
อุทยานฯ ไม่มีบ้านพักบริการ แต่มีเต็นท์ให้เช่าหรือจะนำเต็นท์มาเองก็ได้ สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ อุทยานแห่งชาติน้ำตกธารเสด็จ-เกาะพะงัน ตู้ ป.ณ. 1 อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84280ท้องศาลา :: เกาะพะงันหาดโฉลกหลำ :: เกาะพะงันอ่าวในวอก :: เกาะพะงันหาดท้องนายปาน :: เกาะพะงัน

  •                                     15. อำเภอบ้านนาเดิม

    ประวัติ


    เดิมชื่อ อำเภอลำพูน มี 7 ตำบล คือ บ้านนา ท่าเรือ กอบแกบ ทุ่งเตา อิปัน พระแสง และพนม ตั้งขึ้นจากการ
    จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินในส่วนภูมิภาค ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116
     สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) ได้แยกตำบลอิปัน พนม และพระแสง ไปตั้งเป็นอำเภอพระแสงและกิ่งอำเภอพนม 
    แล้วโอนตำบลเวียงสระ ทุ่งหลวง ท่าชี และนาสารมาขึ้นกับอำเภอลำพูน
    เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2460 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอลำพูนเป็นอำเภอบ้านนา โดยเห็นว่าตัวที่ว่าการ
    อำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านนา
    วันที่ 1 กรกฎาคม 2481 ทางราชการได้ย้ายตัวที่ว่าการอำเภอบ้านนาไปตั้งที่ตำบลนาสารแล้วตั้งชื่อใหม่ว่า
    อำเภอบ้านนาสาร ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2482 เป็นต้นมา
    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2519 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านนาเดิมขึ้นมา โดยแยกท้อง
    ที่อำเภอบ้านนาสารมา 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านนา และตำบลท่าเรือ โดยใช้สถานที่วัดทองประธานเป็นที่ตั้ง
    ที่ว่าการกิ่งอำเภอชั่วคราว ต่อมาได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกอีก 2 ตำบล คือ ตำบลทรัพย์ทวี แยกมา
    จากตำบลท่าเรือ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2525 ตำบลนาใต้ แยกมาจากตำบลบ้านนา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2526
    วันที่ 21 พฤษภาคม 2533 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่ม 107 ตอน 83 ยกฐานะ
    กิ่งอำเภอบ้านนาเดิมเป็น อำเภอบ้านนาเดิม





                                          16. อำเภอชัยบุรี
         

    ประวัติ


    กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอชัยบุรี  เมื่อวันที่  ๒๕ มิถุนายน   ๒๕๒๔   โดยโอนพื้นที่ตำบลสองแพรกและตำบลชัยบุรี
      ของอำเภอพระแสง   รวมพื้นที่   ทั้งหมด   ๔๓๐   ตารางกิโลเมตร  เป็น “กิ่งอำเภอชัยบุรี”  ชื่อนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ขุนชัยบุรี  
     ซึ่งเป็นนายอำเภอพระแสงคนแรก
               กิ่งอำเภอชัยบุรี    ได้เปิดทำการครั้งแรก   เมื่อวันที่   ๑๐  กันยายน    ๒๕๒๔    ซึ่งใช้ศาลาการเปรียญวัดสมัยสุวรรณ   หมู่ที่  ๑  
     ตำบลสองแพรก  เป็นที่ทำการชั่วคราว  โดยมี  นายวิสูตร  ตันสุทธิวนิช  เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรก   เมื่อ   พ.ศ   ๒๕๒๖ 
     กระทรวงมหาดไทย   ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ว่าการกิ่งอำเภอ   ซึ่งเดิมได้เตรียมที่ดินสำหรับก่อสร้าง ฯ   ไว้   ๒   แปลง 
     แปลงคนแรกอยู่หมู่ที่  ๑   ตำบลสองแพรก   และแปลงที่สองอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลชัยบุรีในระยะแรกตกลงจะสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอ
    ในที่ดินแปลงแรกแต่นายนภา กาญจนกีรณา   ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากิ่ง ฯ   ในขณะนั้นเห็นว่าที่ดินแปลงแรกไม่เหมาะสมอยู่ในที่ลุ่ม 
      มีน้ำท่วมขังต้องใช้งบประมาณในการปรับพื้นที่ค่อนข้างสูง   และที่สำคัญไม่อยู่ในกึ่งกลางของพื้นที่ทั้งหมด   ส่วนแปลงที่สองตั้ง
    อยู่ในที่ดอน  ไม่ต้องปรับพื้นที่มากนักเนื้อที่มากกว่าแปลงแรกและตั้งอยู่กลางของพื้นที่ทั้งหมดที่ประกาศเป็นกิ่งอำเภอ ประชาชนเขต
    รอบนอกโดยรวมสัญจรไปมาใกล้และสะดวกกว่าแปลงแรก   จึงได้ดำเนินการสร้างอาคารที่ว่าการกิ่งอำเภอในที่ดินแปลงที่สอง
     เมื่อก่อสร้างอาคารที่ว่าการกิ่งอำเภอแล้วเสร็จ  จึงย้ายสถานที่ทำงานจากศาลาการเปรียญวัดสมัยสุวรรณ   มาอยู่   ณ 
      ที่ว่าการกิ่งอำเภอที่สร้างใหม่   เมื่อเดือนกรกฎาคม   ๒๕๒๗  เมื่อวันที่  ๔  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๓๗   กระทรวงมหาดไทย  
     ได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอเป็นอำเภอ   และได้แต่งตั้ง   นายนิพันธ์   ชลวิทย์   เป็นนายอำเภอคนแรก   





                                                17. อำเภอชัยบุรี




    พุนพินเป็นเมืองเก่าโบราณ สันนิฐานว่าเกิดขึ้นราวสมัยพุทธศตวรรตที่ 8 - 10 สมัยอาณาจักรศรีวิชัยโดย
    มีหลักฐานศิลปวัตถุเทวรูปพระนารายณ์,ลูกปัด,โบราณสถาน เขาศรีวิชัย และวัดเก่าแก่หลายแห่ง ซึ่งเป็น
    เมืองพักสินค้า เดิมมีชื่อเรียกว่า พั้น - พั้น หรือ พาน - พาน ต่อมาได้เรียกภาษาเพี้ยนไปเป็น 

    “พุนพิน” จนถึงปัจจุบัน

    อำเภอพุนพินเป็นอำเภอที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาแต่อดีต โดยนักประวัติศาสตร์

    ได้สันนิษฐานตามจดหมายของพ่อค้าชาวอาหรับ และชาวจีน ว่า ชาวอินเดีย ทางภาคใต้ได้มาติดต่อค้าขาย
    กับชาวสุวรรณภูมิแห่งนี้ด้วย โดยเรือสำเภาโดยสารไปยังปากน้ำคีรีรัฐ (คลองพุ่มดวง)
     และที่นั่นได้กลายเป็นเมืองท่าพักสินค้าขนาดใหญ่


            












     บ่อน้ำพุร้อนท่าสะท้อน  ตั้งอยู่ที่บ้านห้วย หมู่ที่ 6  ตำบลท่าสะท้อน  ระยะทางจากตัวอำเภอประมาณ  
     13 กม. สนใจติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ผู้ใหญ่สุภาภรณ์  อินทนาศักดิ์  โทร. 086-9438131






















    วัดถ้ำสิงขร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    วัดถ้ำสิงขร ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำสิงขร หมู่ที่ 3 ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจาก
    องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงขรประมาณ 200 เมตร อยู่ห่างจากอำเภอคีรีรัฐนิคมประมาณ 12 กิโลเมตร
     และห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 51 กิโลเมตร
    เป็นวัดที่เก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีถ้ำขนาดใหญ่ หน้าถ้ำมีเจดีย์สร้างเลียน
    แบบสมัยศรีวิชัย ประดับด้วยถ้วยชามโบราณ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท รูปปูนปั้นเทวดา 
    ยักษ์ สัตว์ในเทพนิยาย ส่วนฝาผนัง เพดานถ้ำประดับด้วยถ้วยชามโบราณ
    โบราณสถานวัดถ้ำสิงขร มีถ้ำโบราณที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง ที่ฝาผนังถ้ำประดับด้วยเครื่องลายคราม
    สมัยโบราณและภาพวาดฝาผนัง อันเป็นจิตกรรมที่ต้องอนุรักษ์ข้างในถ้ำมีพระประทานองค์ใหญ่
     ชาวบ้านเรียกว่า "พระมาลัย" ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวตำบลถ้ำสิงขรและใกล้เคียง หน้าถ้ำเป็น
    ที่ประดิษฐานพระเจดีย์โบราณสมัยศรีวิชัย ด้านใต้เป็นถ้ำน้ำมีสายน้ำไหลผ่านทะลุไปลำคลองบางนารายณ์ 
    มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมา


                                                  19. กื่งอำเภอวิภาวดี




     น้ำตกวิภาวดี ลำน้ำคลองพาย

     น้ำตกวิภาวดี ลำน้ำคลองพาย


    น้ำตกวิภาวดี ลำน้ำคลองพายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอ
    ดนิยมอีกแห่งหนึ่งในสุราษฎร์ธานี เป็นน้ำตกมีต้นน้ำกำเนิด
    จากเทือกเขาแดน และไหลลงมาตามลำน้ำคลองพาย น้ำตกมีจำนวน 9 ชั้น
    แต่ละชั้นมีความสูงและสวยงามมาก ชั้นที่สวยงามที่สุดได้แก่ น้ำตกชั้นที่ 2
    เที่ยว น้ำตกวิภาวดี ลำน้ำคลองพาย สุราษฎร์ธานี
    น้ำตกวิภาวดี เป็นน้ำตกมีต้นน้ำกำเนิดจากเทือกเขาแดน
     และไหลลงมาตามลำน้ำคลองพาย น้ำตกมีจำนวน 9 ชั้น
     แต่ละชั้นมีความสูงและสวยงามมาก ชั้นที่สวยงามที่สุดได้แก่
     น้ำตกชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นหน้าผาน้ำตกที่น้ำไหลลงมาแรงมากและ
    มีแอ่งสำหรับเล่นน้ำได้ ความสูงประมาณ 15-20 เมตร
    บริเวณน้ำตกเป็นเขตป่าสงวนอุดมไปด้วยไม้ใหญ่หลายชนิด
    ให้ความชุ่มชื่นควรแก่ การพักผ่อน ช่วงที่เหมาะสมสำหรับ
    การท่องเที่ยว ได้แก่เดือนมกราคม-เมษายน แหล่งท่องเที่ยว
    ใกล้เคียงที่น่าสนใจ ได้แก่ กิจกรรมล่องแก่งคลองยัน และอุทยาน
    แห่งชาติแก่งกรุง หากสนใจที่จะพักสามารถติดต่อบ้านพัก
    ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน และบริเวณน้ำตกสามารถ
    ที่จะทำกิจกรรมและกางเต็นท์ได้
    การเดินทาง : สู่น้ำตกวิภาวดี อยู่ห่างจาก อำเภอวิภาวดี
     ไปทางทิศตะวันตก ตามถนนสาย รพช.อำเภอวิภาวดี-คีรีรัฐนิคม
     และแยกทางขวามือปากทางเข้าน้ำตกที่บ้านเชี่ยวมะปราง
     หมู่ที่ 2 ตำบลตะกุกใต้ รวมระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร
    สภาพถนนเป็นดินลูกรังและลาดยางบางส่วน สามารถติดต่อ


2 ความคิดเห็น:

  1. ด้วยความเคารพ ชื่ออำเภอที่ ๑๖ กับ ๑๗ เป็นชื่อเดียวกันคือ อ.ชัยบุรี ชื่ออำเภอที่ ๑๗ น่าจะเป็น อ.พุนพิน เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ

    ตอบลบ
  2. ด้วยความเคารพ ชื่ออำเภอที่ ๑๖ กับ ๑๗ เป็นชื่อเดียวกันคือ อ.ชัยบุรี ชื่ออำเภอที่ ๑๗ น่าจะเป็น อ.พุนพิน เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ นอกจากนี้ให้แก้ไขคำผิดคือ อำเภอที่๑ เมืองสุารษฎ์ธานี แก้ให้ถูกต้องเป็น อ.เมืองสุราษฎร์ธานี หมายถึง เมืองคนดี

    ตอบลบ